“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” คืออัตราการเก็บภาษีจากการเข้าทำประโยชน์บนที่ดิน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และปรับปรุงปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินในท้องถิ่นให้มีความทันสมัย โดยมีผลบังคับตั้งแต่ 13 มีนาคม 2562 และเริ่มจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นครั้งแรก
ใครต้องเสียภาษีที่ดิน
- เจ้าของที่ดิน / เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง / เจ้าของห้องชุด
ผู้ครอบครองทรัพย์สิน หรือทำประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
มีชื่อเป็นเจ้าของ หรืออยู่ในทะเบียนบ้าน ก่อนวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น
เช่น หากซื้อคอนโดในเดือนมิถุนายน 2563 จะยังไม่ต้องเสียภาษีที่ดินในเดือนสิงหาคม 2563 เพราะไม่ได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 แต่จะต้องเสียภาษีที่ดินในปี 2564
- หากเก็บค่าเช่ารายวัน จะต้องเสียภาษีที่ดินประเภทพาณิชยกรรม แต่หากปล่อยเช่าเป็นรายเดือน หรือรายปี จะถือว่าเป็นบ้านเพื่อใช้อยู่อาศัย เสียภาษีในอัตราที่ถูกกว่ามาก
ในทางกฎหมาย คนที่จ่ายภาษีคือเจ้าของทรัพย์สิน แต่ในทางปฏิบัติเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็สามารถเจรจาให้ผู้เช่าเป็นผู้จ่ายภาษีที่ดินแทนได้เช่นกัน หรือจะแบ่งจ่ายกันคนละครึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตกลงของทั้งสองฝ่าย
* กรณีทรัพย์สินนั้นมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน
เช่น ที่ดิน หรือห้องชุด มีเจ้าของร่วมกันหลายคน สามารถตกลงให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้จ่ายภาษีที่ดินคนเดียวก็ได้ หรือจะร่วมกันจ่ายก็ได้
ประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ขึ้นอยู่กับการเข้าทำประโยชน์บนที่ดิน โดยแบ่งประเภทออกเป็นที่ดินใช้ประโยชน์ และไม่ได้ใช้ประโยชน์ ดังนี้
ที่อยู่อาศัย
ถือเป็นที่ดินใช้ประโยชน์ ผู้เสียภาษีคือเจ้าของบ้านหลังหลักคือผู้ที่มีชื่อบนโฉนดและทะเบียนบ้าน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน ส่วนบ้านหลังอื่นๆ ใช้ชื่อเจ้าของบ้านที่มีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ได้
ที่อยู่อาศัยสำหรับใช้ประโยชน์อื่นๆ
กรณีเป็นอาคารที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ พาณิชยกรรม, อุตสาหกรรม, อาคารสำนักงาน, โรงแรม, ร้านอาหาร ฯลฯ
ที่ดินรกร้าง ไม่ได้ใช้ประโยชน์
กรณีเป็นที่ดินที่ทิ้งรกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ในปีก่อนหน้า ยกเว้นว่าจะมีกฎหมายห้ามหรือให้ทิ้งไว้เพื่อการเกษตร หรือปล่อยไว้เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการ
อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ขั้นตอนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ขั้นตอนที่ 1 การจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- อปท.(องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) แต่งตั้งพนักงานสำรวจและประกาศกำหนดเวลาสำรวจก่อนการสำรวจ ไม่น้อยกว่า 15 วัน
อปท.(องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) สำรวจประเภท จำนวน ขนาด และการใช้ประโยชน์ของที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง
อปท.(องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) จัดทำบัญชี รายการที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง
อปท.(องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ปิดประกาศบัญชีรายการที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง ไม่น้อยกว่า 30 วัน และจัดส่งข้อมูลตามบัญชีฯ ให้ผู้เสียภาษีตรวจสอบก่อนประเมินภาษี เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินภาษี
- อปท.(องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง และอัตราภาษีที่จัดเก็บ
อปท.(องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษี (รายการ ราคาประเมินที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง/อัตราภาษี/จำนวนภาษี) ให้ผู้เสียภาษี
ขั้นตอนที่ 3 การชำระภาษี
ถ้าผู้เสียภาษี เห็นด้วยกับการประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน/สิ่งปลูกสร้างและอัตราภาษีที่จัดเก็บ สามารถชำระภาษีภายใน เม.ย. (ปี 2563 ขยายเวลาถึง ส.ค. 2563) แต่ถ้าชำระภาษีเกินกำหนดเวลา หรือค้างชำระ จะต้องจ่ายทั้งค่าภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มด้วย ส่วนกรณี ผู้เสียภาษีที่ไม่เห็นด้วยกับการประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง ของ อปท. และอัตราภาษีที่จัดเก็บ สามารถยื่นเอกสารคำร้องคัดค้าน ได้ตามขั้นตอนดังนี้
- ยื่นคำร้องคัดค้านภายใน 30 วัน ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาคำร้องภายใน 60 วัน ถ้าเห็นชอบ/พิจารณาล่าช้า รับเงินคืนภายใน 1 ปี ถ้ายังไม่เห็นชอบ ทำตามขั้นตอน ข้อ 2 ต่อไป
ยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน กับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภาษีประจำจังหวัดวินิจฉัยภายใน 60 วัน และถ้าเห็นชอบ รับเงินคืนภายใน 1 ปี และถ้ายังไม่เห็นชอบ ก็สามารถทำตามขั้นตอนที่ 3
ยื่นฟ้องศาลภายใน 30 วัน ที่ศาลภาษีอากรกลาง
|
|